คำถาม |
คำนิยามพลังงานหมุนเวียน แหล่งพลังงานที่ใช้แล้วไม่หมดสิ้น สามารถพัฒนานำขึ้นมาใช้ใหม่ได้ เช่น พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น พลังงานทดแทน พลังงานหนึ่งๆ ที่นำมาใช้แทนพลังงานหลัก เช่น ชีวภาพ ชีวมวล ชีวมวล เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหรือกากจากกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมการเกษตร ที่มีสารอินทรีย์ที่เป็นแหล่งกักเก็บพลังงานจากธรรมชาติและสามารถนำมาใช้ผลิตพลังงานได้ เชื้อเพลิงสำรอง พืชหรือต้นไม้ประเภทอื่นที่ปลูกเพื่อทดแทนชีวมวลหลัก ทั้งนี้ต้องมีพื้นที่สำหรับปลูก จำนวนไร่ขึ้นอยู่กับขนาดกำลังการผลิต ตัวอย่าง ขนาดกำลังการผลิต 200 กิโลวัตต์ ความต้องการชีวมวลที่ 20000 ตัน ใช้พื้นที่ปลูกประมาณ 300-400 ไร่ โรงไฟฟ้าชุมชน โรงไฟฟ้าขนาดเล็ก ตั้งขึ้นในชุมชน ประกอบการโดยไม่มุ่งเน้นหากำไร แต่เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านในด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน ให้ความรู้และสร้างรายได้แก่ชุมชน เหตุที่ทำให้เกิดพลังงานหมุนเวียนและพลังงานทดแทนQ: ปัญหาพลังงานโลกและวิกฤตพลังงานของไทยในปัจจุบันเป็นอย่างไร การใช้พลังงานขั้นต้นของโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พลังงานขั้นต้นได้แก่ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ น้ำ และถ่านหิน ซึ่งล้วนแล้วมีปริมาณที่จำกัดทั้งสิ้นและปริมาณเหลือน้อยในปัจจุบัน ในส่วนของประเทศไทยต้อง เราซื้อเชื้อเพลิงในปริมาณที่มากจากต่างประเทศ เนื่องจากการบริโภคมากขึ้น ในขณะที่การผลิตพลังงานใหม่ๆลดลง เกิดปัญหาราคาเชื้อเพลิงสูงขึ้น เกิดการแย่งชิงและสงครามเชื้อเพลิงอย่างเช่นในปัจจุบัน Q: ลักษณะการประกอบการของบริษัทเป็นอย่างไร โรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยเชื้อเพลิงชีวมวลซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก นำเอาเทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชั่น Gasification มาใช้ในกระบวนการผลิต ได้ก๊าซเชื้อเพลิงที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โรงงานตั้งอยู่ที่ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย เป็นโรงไฟฟ้าแรกของประเทศไทยที่บริหารงานครบวงจร คือ ซื้อวัตถุดิบเหลือใช้ทางการเกษตรมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตกระแสไฟฟ้า ผลิตกระแสไฟฟ้าทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค มีการจ้างงานและเกิดการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นกับโรงไฟฟ้าเพื่อร่วมกันทำประโยชน์ให้เกิดกับส่วนรวมอย่างมีประสิทธิภาพ Q: การบริการครอบคลุมส่วนใดบ้าง สำรวจปริมาณเชื้อเพลิงในพื้นที่เป้าหมายโดยทีมงานสำรวจ วิเคราะห์ความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐศาสตร์กับการลงทุน กำหนดรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการผลิตกระแสไฟฟ้ารวมถึงการดำเนินการขออนุญาตการประกอบการธุรกิจโรงไฟฟ้ากับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ก่อสร้าง ติดตั้งเครื่องจักร และเชื่อมต่อระบบไฟฟ้ากับ กฟผ. กฟภ. กฟน. ฝึกอบรมบุคลากรให้สามารถดูแลควบคุมการผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ดูแลรักษาและซ่อมบำรุงอุปกรณ์ต่างๆหลังจากที่โรงงานดำเนินการแล้ว Q: ทำไมถึงทำแต่โรงไฟฟ้าขนาดเล็ก โรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ต้องใช้เงินทุนมาก มีปัญหาถูกต่อต้านจากชาวบ้าน ความเสี่ยงเรื่องเชื้อเพลิง ไม่สามารถทำกระจายตามท้องถึงได้ทั่วถึง โรงฟ้าขนาดเล็กนี้สามารถตอบโจทก์ได้ทั้งเรื่องการลงทุน ปัญหาเรื่องเชื้อเพลิง มลพิษอันเนื่องมาจากเทคโนโลยีและเชื่อเพลิงที่ใช้ และประโยชน์ที่ชุมชนได้รับอย่างแท้จริง Q: เทคโนโลยีที่ใช้เป็นอย่างไร การผลิตพลังงานโดยการเผาโดยวิธี Gasification อาศัยกระบวนการทางเคมีที่ทำให้องค์ประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีอยู่ในชีวมวล เปลี่ยนไปเป็นก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) และ ไฮโดรเจน จุดติดไฟง่าย สามารถนำไปใช้ในการผลิตพลังงานได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็น การผลิตพลังงานความร้อนโดยการเผาไหม้โดยตรงในห้องเผาไหม้ Burner หรือแม้กระทั่งนำไปใช้กับเครื่องยนต์เผาไหม้ภายในการผลิตไฟฟ้า Engine Generator Set ซึ่งสภาวะที่ทำให้เกิดก๊าซดังกล่าวคือ สภาวะการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ กล่าวคือ เป็นสภาวะที่มีการจำกัดปริมาณอากาศหรือก๊าซออกซิเจน เพราะหากมีออกซิเจนเพียงพอ หรือมากเกินพอจะกลายเป็นกระบวนการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ และมีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไอน้ำ ออกมา ชนิดของเตาผลิตก๊าซเชื้อเพลิง Gasifier แบ่งตามลักษณะการป้อนเชื้อเพลิงดิบ (ชีวมวล) แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ แบบคอลัมน์ (Fixed bed gasifier) และแบบฟลูอิดไดซ์เบด (Fluidized bed Gasified) ซึ่งมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป ตามลักษณะของการใช้ประโยชน์ ในกรณีที่วัตถุดิบมีขนาดใหญ่และมีความชื้นสูงเตาผลิตก๊าซเชื้อเพลิงแบบคอลัมน์มีความเหมาะสมมากกว่า และไม่ซับซ้อนและยังสามารถนำพลังงานที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ได้หลายรูปแบบ เตาผลิตเชื้อเพลิงแบบ Downdraft gasifier สามารถแก้ปัญหาการปนเปื้อนของยางเหนียว หรือ Tar ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวจึงมีความเหมาะสมในการนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงร่วมของเครื่องยนต์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า หรือแม้กระทั่งนำมาใช้ในการอบแห้งผลผลิตทางการเกษตร Q: ลักษณะการทำงานของเทคโนโลยี Gasification เมื่อเปรียบเทียบกับเทคโนโลยี Boiler เป็นอย่างไร การทำงาน Boiler เป็นการเผาไหม้โดยตรง พลังงานที่ถูกเก็บสะสมอยู่ในชีวมวล จะถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนภายในหม้อน้ำ ซึ่งปริมาณค่าความร้อนที่ได้จะขึ้นอยู่กับชนิดของชีวมวล พลังงานความร้อนที่ได้นำไปต้มน้ำให้กลายเป็นไอน้ำ ใช้ไอน้ำหมุนกังหันและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าต่อไป ต่างจาก ระบบGasification ซึ่งเป็นกระบวนการเคมีความร้อน Thermochemical Conversion เป็นกระบวนการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ เพื่อผลิตก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์และไฮโดรเจนนำไปใช้กับกังหันแก๊ส Gas turbine เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ความปลอดภัย Boiler มีความเสี่ยงสูง นอกจากเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีประเภทนี้อาศัยแรงดันจากไอน้ำไปหมุนกังหัน ปริมาณความดันแก๊สสูงมากเสี่ยงต่อการระเบิด (เคยมีข่าวระเบิดอันเนื่องมาจากเทคโนโลยี Boiler แล้ว) นอกจากนี้ยังสูญเสียน้ำในกระบวนการเผาไหม้อีกด้วย Gasification แทบจะไม่มีความเสี่ยงใดๆเลย (ไม่มีมลพิษ ไม่เกิดปัญหาต่อชุมชนด้านเสียง ไม่เกิดน้ำเสีย ไม่เสี่ยงต่อการระเบิด) ด้านเงินทุนและสรุปศักยภาพการผลิต Boiler ใช้เงินทุนสูง เหมาะกับขนาดกำลังการผลิตใหญ่ ใช้เชื้อเพลิงปริมาณมากอีกทั้งยังต้องคำนึงถึงค่าความร้อน ซึ่งหมายความว่า Boiler ไม่สามารถใช้กับเชื้อเพลิงได้ทุกชนิด Gasification เหมาะกับขนาดกำลังการผลิตเล็กๆ ลงทุนไม่สูงมาก ไม่คำนึงถึงค่าความร้อนของเชื้อเพลิง ลดปัญหาเรื่องเชื้อเพลิงขาดแคลน Q: ความเสี่ยงของโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยเทคโนโลยี Gasification เชื้อเพลิงหลัก ต้องตรวจสอบปริมาณชีวมวลในพื้นที่ว่าเพลิงพอต่อขนาดกำลังการผลิตนั้นๆหรือไม่ แก้ไขโดยหาพื้นที่ปลูกเชื้อเพลิงสำรอง (กระถินยักษ์) ดังตารางข้างล่าง
Q: By Product จากเทคโนโลยี Gasification มีอะไรบ้าง น้ำส้มควันไม้ มีประโยชน์ด้านการเกษตร เป็นปุ๋ยอย่างดี โดยคุณสมบัติแตกต่างกันตามสัดส่วนการผสม ถ่าน ได้จากขี้เถ้าจากกระบวนการการเผาไหม้ สามารถนำไปอัดแท่งขาย และใช้ประโยชน์ในชุมชนได้ Q: ต้องมีพื้นที่ก่อสร้างเท่าไร ประมาณ 3-4 ไร่ Q: ประโยชน์ของชีวมวลมีอะไรบ้าง การนำชีวมวลมาเป็นเชื้อเพลิงมีข้อดีหลายประการคือ
Q: โครงสร้างทางเคมี องค์ประกอบของเชื้อเพลิงชีวมวลเป็นอย่างไร ประกอบด้วย 1. ความชื้นหรือน้ำ 2. ส่วนที่เป็นสารระเหย 3. ค่าความร้อน 4. ขี้เถ้าหรือส่วนที่เผาไหม้ไม่ได้ ชีวมวลส่วนใหญ่มีมีขี้เถ้าน้อย ยกเว้นแกลบและฟางข้าวมีในปริมาณสูงถึง 10-16% ของน้ำหนัก Q: ความสัมพันธ์ระหว่างค่าความร้อน น้ำหนักและความชื้นเป็นอย่างไร ความชื้นในชีวมวลเปรียบเสมือนน้ำที่อยู่ในฟองน้ำ เมื่อบีบน้ำในฟองน้ำออกทำให้น้ำหนักลดลง ดังนั้นชีวมวลที่มีส่วนผสมของน้ำน้อย หรือมีความชื้นต่ำย่อมมีส่วนที่เป็นของแข็งมากกว่า ค่าความร้อนย่อมมากกว่าชีวมวลที่มีความชื้นสูง Q: ศักยภาพพืชชีวมวลของไทย ชีวมวลที่เกิดขึ้นในแต่ละปีมีปริมาณค่อนข้างมาก มีหลายชนิดกระจายอยู่ทั่วประเทศ พืชที่มีการปลูกมากเป็นหลักและพืชที่มีแนวโน้มปลูกเพิ่มขึ้นตามนโยบายของรัฐมี 7 ชนิดที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวเปลือก อ้อย สวนยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และไม้ยูคาลิปตัส |